google-site-verification=FGfOxuqKYFqDD8_IOTBxeeTJwisjig1ZYYDKx5LB1BU
Last updated: 19 ก.ย. 2567 | 59 จำนวนผู้เข้าชม |
รอบตัวเรานั้นเต็มไปด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่อาจมีสิ่งปนเปื้อนอันไม่พึงประสงค์ หรือมีอันตรายต่อร่างกาย นั่นก็คือพวกเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อโรคอื่น ๆ อีกมากมายที่ทั้งมองเห็นและมองไม่เห็น และหากเชื้อโรคพวกนี้เข้าไปสู่ร่างกายของคนเราแล้วละก็ นั่นหมายความว่า เราอาจจะเจ็บป่วยหรือเป็นโรคต่าง ๆ ได้ แต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียว เพราะความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่ร่างกายของคนเรานั้นมีกลไกการป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า ระบบภูมิคุ้มกัน (หรือภูมิต้านทาน)
การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบคือ อาศัยเซลล์ทางตรงและอาศัยเซลล์ทางอ้อม แต่ทั้ง 2 ระบบ จะทำงานโดยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยทันทีที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยทางไหนหรือสาเหตุอะไร ภูมิคุ้มกันของเซลล์ทางตรงก็ทำงานโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวจะจับกินทำลายเชื้อโรคทันที ในขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันของเซลล์ทางอ้อมก็จะสร้างสารภูมิต้านทานหรือสารต่อต้านสิ่งแปลกปลอมซึ่งเรียกว่าแอนติบอดี (anti body)ที่เป็นโปรตีนชนิดพิเศษขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรค โดยแอนติบอดีจะเข้าไปจับตัวกับเชื้อโรค ไม่ให้เชื้อโรคทำงานหรือไม่สามารถแผลงฤทธิ์ทำร้ายร่างกายได้
ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายประสบกับปัญหาสุขภาพที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอจากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขาดสารอาหาร ความเครียด ก็อาจส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลงซึ่งมีผลทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มผิดปกติได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือโรคตามมาเช่น อาการแพ้หรือโรคหอบหืด อาการติดเชื้อได้ง่าย ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
อ้างอิง : นพ.หิรัญวุฒิ แพร่คุณธรรม,นพ.ชนินันท์ สนธิไชย .ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. จาก http://nvi.ddc.moph.go.th/Download/EpiModule/ch1_2.pdf
เม็ดเลือดขาว จาก http://fat.surin.rmuti.ac.th/teacher/songchai/bloodweb/wbc.htm
19 ก.ย. 2567
19 ก.ย. 2567
19 ก.ย. 2567