google-site-verification=FGfOxuqKYFqDD8_IOTBxeeTJwisjig1ZYYDKx5LB1BU
Last updated: 26 มิ.ย. 2566 | 404 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัจจัยที่ทำให้โรคหืดกำเริบมีหลายปัจจัย และในบางรายอาจะต้องใช้ยาพ่นด้วย บางท่านคิดว่ายาพ่นใช้แล้วอันตรายจริงหรือ? วันนี้เรมีข้อมูลสำคัญจากหนังสือ คลินิกสุขภาพ โดยแพทย์หญิงสิรินันท์ บุญยะลีพรรณ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
สิ่งที่ทำให้อาการของผู้ป่วยกำเริบขึ้น
ได้แก่
1.ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเหตุของการเกิดโรคหืด ดังรายละเอียดข้างต้น ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีสาเหตุแตกต่างกันไป
2.ปัจจัยที่แม้ไม่ได้เป็นต้นเหตุในการเกิดโรคหืดในผู้ป่วยรายนั้น แต่ก็สามารถกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้ เช่น การออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของอากาศ ความเย็น
ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน อารมร์รุนแรง โรคหวัด โรคไซนัสอักเสบ เขม่าควัน ควันท่อไอเสีย ควันธูป ควันบุหรี่ ควันจากการประกอบอาหาร กลิ่นฉุนสเปรย์ อาหารที่แพ้
การวินิจฉัยโรคหืด
การวินิจฉัยโรคหืดประกอบด้วย
1.การซักประวัติอย่างละเอียด เกี่ยวกับอาการของโรค ประวัติภูมิแพ้อื่นๆ รวมถึงประวัติโรคกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อมที่บ้านและที่ทำงาน วิธีการรักษาที่ผ่านมา
2.การตรวจร่างกาย หากตรวจขณะอาการกำเริบอาจได้ยินเสียงวี้ดในปอด หายใจลำบาก หายใจแรงจนหน้าอกบุ๋ม แต่หากตรวจในขณะที่โรคสงบอาจไม่พบความผิดปกติใดๆ เลยก็ได้
3.การตรวจสมรรถภาพปอด เป็นการตรวจว่าปอดของผู้ป่วยทำงานได้ปกติหรือไม่ มีการหดตัวของหลอดลมมากน้อยเพียงใด สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 5 ปี ขึ้นไป
นอกจากนี้ยังควรทำการตรวจสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป เป็นการหาว่ามีโรคภูมิแพ้เป็นสาเหตุหรือไม่และจะทราบได้ด้วยว่าแพ้อะไรบ้าง เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการรักษาต่อไป
การเอกซเรย์ปอดของผู้ป่วยโรคหืดมักให้ผลปกติ เว้นแต่จะมีโรคแทรกซ้อน
ปัญหาที่พบในการรักษาโรคหืด
ผู้ป่วยบางรายขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เรื่องการเกิดโรค ทำให้ไม่เห็นความสำคัญของการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นต้นเหตุของโรคและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ รวมทั้งไม่เห็นความสำคัญของการใช้ยาเพื่อรักษาการอักเสบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมักใช้เพียงยาขยายหลอดลมเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น ทำให้สภาพภายในหลอดลมเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดเมื่อเกิดเป็นแผลเป็นขึ้นเป็นจำนวนมากแล้ว ก็ไม่มีวิธีใดที่จะแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา โดยเฉพาะยาพ่น โดยผู้ป่วยส่วนมากมักเข้าใจผิดว่า ผู้ที่ใช้ยาพ่นแปลว่าอาการเป็นมากแล้ว ทำให้ปฏิเสธการใช้ยาตั้งแต่โรคอยู่ในระยะไม่รุนแรงมาก ซึ่งสามารถรักษาได้ผลดีกว่ารอใช้ยาเมื่ออาการเป็นมากเกินกว่ายาจะควบคุมได้เสียแล้ว
และบางรายยังมีความเชื่อที่ผิดๆ ว่า การใช้ยาพ่นจะทำให้เกิดการติดยาได้ จึงปฏิเสธไม่ยอมใช้ยาพ่น ทำให้เด็กบางรายที่เป็นโรคหืดมีอาการกำเริบบ่อยและรุนแรงขึ้น บางรายถึงกับเป็นโรคหืดไปจนโตก็มี
19 ก.ย. 2567
19 ก.ย. 2567
19 ก.ย. 2567