google-site-verification=FGfOxuqKYFqDD8_IOTBxeeTJwisjig1ZYYDKx5LB1BU โรคภูมิแพ้ควรรักษาอย่างไร? - betacalplus-th

โรคภูมิแพ้ควรรักษาอย่างไร?

Last updated: 3 เม.ย 2566  |  474 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคภูมิแพ้ควรรักษาอย่างไร?

เนื่องจากโรคภูมิแพ้นั้น ทำให้เกิดขึ้นได้หลายอาการ เช่น คันตา คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดท้อง อาเจียน ไอ หอบ ซึ่งในแต่ละบุคคลอาจจะเป็นได้ถึง 2 อาการขึ้นไป จึงมีคำถามที่สงสัยว่า คนที่เป็นภูมิแพ้ ควรจะพบหมอด้านใด วันนี้เรานำเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ คลินิกสุขภาพ เรื่องภูมิแพ้ โดยแพทย์หญิง สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ มาให้แนะนำกันค่ะ

 

การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้

            โรคภูมิแพ้มีวิธีการวินิจฉัยได้ชัดเจนแน่นอน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ (ALLERGEN)  สามารถวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ได้โดยอาศัยข้อมูลจาก

            1.ประวัติ  ได้แก่ ลักษณะอาการที่เป็นมา ระยะเวลา ความรุนแรง สิ่งกระตุ้นให้อาการกำเริบ ประวัติโรคอื่นๆ ที่ผู้ป่วยเป็นร่วมด้วย ประวัติการใช้ยาต่างๆ ประวัติโรคกรรมพันธุ์ในครอบครัว โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ ประวัติสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

            2.การตรวจร่างกาย จะตรวจพบความผิดปกติที่เกิดจากโรค เช่น ขอบตาล่างดำคล้ำ เยื่อบุจมูกบวม หายใจมีเสียงวี้ด มีผื่นขึ้นตามข้อพับ ฯลฯ ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดโรคภูมิแพ้ที่เป็น

            3.การทดสอบภูมิแพ้ (ALLERGY SKIN TEST)  นอกจากจะเป็นการยืนยันการวินิจฉัยแล้ว ยังทำให้เราทราบด้วยว่าผู้ป่วยภูมิแพ้รายนี้เกิดโรคขึ้นเนื่องจากแพ้สารอะไร ซึ่งแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไปผลที่ทราบจากการทดสอบนี้จะนำไปสู่การหลีกเลี่ยงสารที่แพ้อย่างถูกต้อง และทำให้แพทย์วางแนวทางในการรักษาผู้ป่วยได้แม่นยำ

            เนื่องจากปัจจุบันการทดสอบภูมิแพ้ทำได้สะดวกและไม่เจ็บสามารถทำได้แม้ในเด็ก จึงควรทำการทดสอบเพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ และแพ้อะไรบ้าง จะได้หลีกเลี่ยงได้อย่างตรงประเด็น จะรักษาได้ผลดีกว่าการรับประทานยาครอบคลุมอาการทั่วไปของโรค โดยไม่ได้แก้ไขหลีกเลี่ยงที่สาเหตุ พอหยุดยาก็จะปรากฏอาการอีกครั้ง

            4.การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ขึ้นกับโรคที่เป็น เช่น การวัดสมรรถภาพปอด เอกซเรย์ ตรวจเลือด



โรคภูมิแพ้พบได้มากน้อยแค่ไหน

            เนื่องจากโรคภูมิแพ้เป็นกลุ่มโรคที่มีได้หลายโรค หลายรูปแบบ ดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อนำมากล่าวรวมๆกันจึงทำให้ดูเหมือนว่าใครๆก็เป็นโรคนี้กันไปหมด ทั้ง ๆที่แต่ละโรคพบได้บ่อยไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างของไทย เช่น

            เมื่อปี พ.ศ.2538 มีการสำรวจในเด็กนักเรียนในกรุงเทพมหานคร พบ เป็นโรคหืด 13 เปอร์เซ็นต์ และเป็นโรคแพ้อากาศสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์

            และการสำรวจในปี พ.ศ.2533 พบว่ามีเด็กนักเรียนอายุ 6-12 ปี แพ้อาหารประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์

 

 เป็นโรคภูมิแพ้หาหมออะไรได้บ้าง

            เนื่องจากโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานซึ่งครอบคลุมอยู่ทั่วร่างกาย อาการจึงเกิดขึ้นได้หลายอวัยวะ ในช่วงเวลาเดียวกันหรือคนละช่วงเวลาก็ได้ เช่น อาจมี

                        อาการที่จมูก เช่น คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล

                        อาการทางตา เช่น คันตา เคืองตา น้ำตาไหล มีขี้ตา

                        อาการที่ปอด เช่น ไอ หอบ

                        อาการที่ระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย

                        อาการที่ระบบผิวหนัง เช่น ผื่น คันตามผิวหนัง บวม



           

ดังนั้นเราจึงอาจตรวจกับแพทย์ตามระบบต่าง ๆได้ เช่น

ผื่น คัน บวม                                         ตรวจกับหมอผิวหนัง

ไอ หอบ                                               ตรวจกับหมอโรคปอด

ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย                   ตรวจกับหมอทางเดินอาหาร

คันตา เคืองตา น้ำตาไหล                     ตรวจกับหมอตา

คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล                       ตรวจกับหมอหู คอ จมูก

 
แต่เนื่องจากเรามักพบว่า ในผู้ป่วยภูมิแพ้รายหนึ่ง ๆมักมีอาการมากกว่าหนึ่งอวัยวะเสมอ เช่น เป็นทั้งแพ้อากาศและหอบหืด หรือเป็น แพ้อากาศร่วมกับผื่นแพ้ ดังนั้นการที่ต้องไปพบแพทย์หลายสาขาจึงไม่สะดวกและไม่ประหยัด

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้